ถิ่นกำเนิดพวกเขาข้ามน้ำข้ามทะเลมาจากเขตภูเขา ทะเลทรายของประเทศมองโกเลีย
รูปร่างขนาดใหญ่กว่า แฮมแคระ แต่เล็กและเพรียวกว่า ซีเรียนไจแอนท์ น้ำหนักขนาดโตเต็มที่ ปกติอยู่ที่ประมาณ 180 - 200 กรัม มีขาหลังที่ใหญ่กว่าขาหน้าเอาไว้สำหรับวิ่งไวว่องหนีศัตรูตามธรรมชาติ คืองู และนก ช่วงหางมีความยาวใช้สำหรับทรงตัวในการวิ่งและปีนป่าย ทำให้ค่อนข้างเปรียว และอยู่ไม่นิ่ง
(สีตาของเจอร์บิลจะไม่แดงเหมือนกับ Winterwhite Hamster แต่จะออกชมพูมากกว่า ดูแล้วโหดน้อยหน่อยสำหรับ คนที่ไม่ชอบหนูตาแดง)
เจอร์บิลจะเมามันส์กับการแทะและเคี้ยว (Chewing) มากกว่าเพื่อน กล่าวคือ จะแทะและแทะ และแทะแทะแทะ ทุกสิ่งอย่างที่สามารถ ผู้เขียนเลือกจะใส่บ้านที่ทำจากไม้ให้ ก็พบว่าบ้านนั้น ถูกเลาะผนังออกไปในระยะเวลาไม่นาน...
ก้อนแคลเซี่ยมนกสี่เหลี่ยมลูกบาศ์ก
กลายสภาพเป็นก้อนกลม
ด้วยการลับฟัน
ถิ่นที่อยู่ตามธรรมชาตินั้นจะอยู่เป็นฝูงขนาดใหญ่รวมกัน ขุดหลุมหลบร้อนในตอนกลางวันและหากินกลางคืน ทำให้เมื่อกลายมาเป็นสัตว์เลี้ยง จะมีพฤติกรรมในการขุดโพรง และตะกุยพื้น เป็นกิจกรรมหลัก
ทำให้การจัดพื้นที่เลี้ยงนั้นค่อนข้างจะแตกต่างไปจากหนูอื่นๆ กล่าวคือ จำเป็นต้องใส่วัสดุรองพื้น (Bedding) ชนิดที่เหมาะสมและปริมาณที่มากกว่า เพื่อสนองอารมณ์ในการขุดคุ้ย ให้ได้ใส่กันเต็มเหนี่ยวไม่ต้องยั้ง จับมือเขาดูขาหน้าจะพบว่า เล็บยาวแหลมมากก็เพื่อการนี้ล่ะ
ตัวอย่างกรงสำหรับเลี้ยงเจอร์บิลในต่างประเทศ
เรียกว่า เจอร์บิลาเรี่ยม Gerbilarium
คือด้านบนจะเป็นกรงตะแกรงแบบปกติ แต่ด้านล่างจะเป็นเหมือนกล่องเพาะคือ เป็นกล่องใสก้นลึก เอาไว้ใส่ Bedding เยอะ ๆ สำหรับให้ขุดและทำโพรงกันตามอัธยาศัย....
ตู้เลี้ยงของผู้เขียนเองใช้ตู้ปลาขนาด 24"
รองพื้นหนาๆ
สุขภาพและการดูแล
เนื่องจากเป็นสัตว์ที่พื้นถิ่นมาจากภูเขาแห้งและทะเลทรายอากาศร้อน จึงไม่ใช่ปัญหาใหญ่สำหรับเจอร์บิลนัก ร่างกายบึกบึน แข็งแรงจากการวิ่งออกกำลังกาย ทำให้ค่อนข้างจะอึดกว่าใคร จึงไม่จำเป็นต้องดูแลอะไรเป็นพิเศษมากนัก เพียงแต่ต้องจัดสภาพแวดล้อมที่อาศัยให้เหมาะสม มีหลอดน้ำสะอาด และพื้นที่โปร่งในการวางกรง หรือตู้เลี้ยง อาหารสะอาด เสริมด้วยวิตามินพิเศษบางโอกาส ก็เพียงพอแล้ว
ลักษณะนิสัย
เจอร์บิลนั้นแตกต่างจากเพื่อนร่วมรุ่นอื่นชัดเจนอย่างนึงเลย คือการรวมฝูงแบบพึ่งพาอาศัยกัน โดยจะต่างจาก ไจแอนท์ที่รักสันโดษและจะพบกันเฉพาะในช่วงผสมเท่านั้น และพวกเขาจะจดจำสมาชิกกันได้ผ่านทางกลิ่นทำให้เจอร์บิลนั้นสามารถเลี้ยงรวมกันหลายๆ ตัวได้ใน ตู้เดียว ซึ่งถ้านำมาเข้าฝูงกันแต่เด็กก็จะไม่กัดกันและอยู่ร่วมกันได้โดยไม่ต้องเทียบกรง
ครอบครัวเจอร์บิลคลอดบุตร โดยมีตัวเมีย(่ป้า)ที่เป็นแท้งค์เมท ช่วยดูแลลูก
สามารถเลี้ยงรวมกันโดยไม่ต้องแยกตัวอื่นออกโดยไม่มีปัญหาเรื่องป้าจะรับทานเด็ก
เหมาะกับใคร?
เจอร์บิลนั้นถึงจะฟันแหลมแทะแหลกราญ แต่กลับแทบจะไม่กัดเลยในสภาพปกติ ไม่ต้องวัดใจแหย่มือโดยลุ้นว่าจะงับติดนิ้วเลือดซิบขึ้นมาหรือไม่ เพราะตามธรรมชาติแล้วเขาเป็นสัตว์ที่ไม่ก้าวร้าว (Non-Agressive) มีพฤติกรรมอยากรู้อยากเห็น นั่นคือจุดขาย คือร่าเริงพลังสูงโดยวิสัย มีการเล่นกันแบบที่เรียกว่า่ต่อยมวย นึกภาพจิงโจ้สู้กัน ก็แบบนั้นล่ะครับ Gerbil Boxing
ด้วยความเชื่องบวกวิสัยขี้สงสัยและความฉลาดของพวกเขาสามารถฝึกให้ทำอะไรเจ๋งๆได้หลายอย่าง ...ยกเว้นไปจ่ายตลาดแทน.. -___-" ทำให้ในต่างประเทศนั้น ค่อนข้างจะนิยมเลี้ยงเจอร์บิลเป็นสัตว์เลี้ยงยอดฮิตมาก แต่ในประเทศเราเองอย่างที่เล่าไว้ในตอนแรก
พวกเขาถูกเลี้ยงเอาไว้เป็น" หนูเหยื่อ "ยอดนิยม ที่นักเลี้ยง Exotic pet ถึงกับพูดว่า งูตัวไหนที่ได้กิน เจอร์บิลเข้าไป งูตัวนั้นจะลืมรสชาติของเหยื่ออื่นทั้งมวล ?? อร่อยขนาดนั้นเลย??
ณ ตอนนี้ หลายๆ คนคงเคยเห็นพวกเขาผ่านตามาบ้างแล้ว เพราะกระแสการเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยงนั้นกำลังมา ดูจากการที่ร้านขายหนูหลายร้านในสวนจตุจักรเริ่มเพาะเลี้ยงและมีการรับมาขายอย่างจริงจัง แต่กระนั้น นั่งดู หรือฟังเขาพูด มันก็เท่านั้น
อย่ากระนั้นเลย ดั่งสุภาษิตที่ใครคนนึงเคยกล่าวไว้ว่า
"สิบตาดูไม่เท่าโดนหนูแทะมือ"
ต้องลองพาพวกเขาเข้าบ้านดูสักคู่สองคู่ .....รู้จักแล้วจะรักพวกเขามากขึ้นนะ....
25 เมษายน 2556
น่าสนใจและน่ารักมากๆค่ะ แต่ตอนนี้ต้องดูแลน้องแฮมก่อน ติดตรงมีหางแอบสยองเหมือนหนูบ้าน ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆค่ะ
ตอบลบ